13/10/64

5 วัดใกล้กรุงเทพฯ

วัดวรเชษฐาราม

ชื่ออารามหลวงเก่าแก่อายุหลายร้อยปีแห่งนี้แปลได้ว่า พี่ชายผู้เป็นที่รัก จึงสันนิษฐานตามหลักฐานได้ว่าเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2136 ณ บริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้ทรงเป็นพระเชษฐา และได้สร้างพระเจดีย์ประธานเพื่อประดิษฐานพระบรมอัฐิของอดีตพระมหากษัตริย์ไว้ด้วย สิ่งที่สร้างความสับสนเนื่องจากที่อยุธยามีวัดวรเชษฐ์ 2 แห่งคือ วัดภายในเกาะเมือง ระหว่างวัดโลกยสุธารามและวัดวรโพธิ์ซึ่งเคยเป็นเขตพระราชวังหลัง ที่เรียกว่า สวนกระต่าย และวัดวรเชษฐ์นอกเกาะเมืองหรือวัดประเชด แต่วัดวรเชษฐ์ที่กล่าวถึงนี้อยู่ในเกาะเมือง ซึ่งเคยมีผู้ลักลอบเข้าไปขุดหาโบราณวัตถุ พบกรุเจดีย์ประธานมีผอบบรรจุอัฐิซึ่งมีพระพุทธรูปนาคปรกล้อมซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำวันเสาร์ อันเป็นพระราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรเป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งชี้ว่าวัดนี้คือวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น หรือนักวิชาการบางคนชี้ว่าที่ตั้งของวัดอาจเป็นที่ตั้งพระตำหนักเดิมของสมเด็จพระเอกาทศรถซึ่งได้ทรงสร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเชษฐา แม้ไม่อาจชี้ชัดได้มากกว่านี้ แต่สิ่งก่อสร้างที่ยังหลงเหลืออยู่ก็เพียงพอจะดึงดูดให้ผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ได้เข้าไป ชมวัดวรเชษฐารามนั่นคือพระเจดีย์ประธานก่ออิฐถือปูนทรงระฆังคว่ำศิลปะแบบสุโขทัยที่มีขนาดใหญ่โตมาก หน้าบันประดับลวดลายจากเครื่องถ้วยเช่นเดียวกับศิลปะที่ซุ้มประตูวัดมหาธาตุ ปรากฎลวดลายชั้นมาลัยเถา บัลลังก์และเสาหานรอบก้านฉัตรที่ยังสมบูรณ์และพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย พระประธานในพระวิหารก่ออิฐถือปูนที่ยังมีผู้ศรัทธานำมาลัยดอกไม้มากราบไหว้ทุกวัน และสภาพโดยรอบ สังเกตได้ว่าที่นี่เป็นวัดเดียวในอยุธยาที่มีคูน้ำล้อมรอบ ตามรูปแบบวัดในเมืองสุโขทัย 


ที่อยู่ : อยู่ภายในชุมชนตลอดยอด ถนนคลองท่อ ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เครดิต : https://1th.me/cfPKG

 

 

 

วัดใหญ่ชัยมงคล

วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อวัดป่าแก้วหรือวัดเจ้าพระยาไท ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมาแต่สำนักพระวันรัตน์มหาเถรในประเทศลังกา คณะสงฆ์ที่ไปศึกษาพระธรรมวินัยเรียกนามนิกายในภาษาไทยว่า "คณะป่าแก้ว" วัดนี้จึงได้ชื่อว่า "วัดป่าแก้ว" ต่อมาคนเลื่อมใสบวชเรียนพระสงฆ์นิกายนี้ จึงมีการตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นสมเด็จพระวันรัตน์มีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายขวาคู่กับพระพุทธโฆษาจารย์เป็นอธิบดีสงฆ์ฝ่ายคันถธุระ มีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายซ้าย หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดเจ้าพระยาไท" สันนิษฐานว่ามาจากที่พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างวัดป่าแก้วขึ้น ณ บริเวณที่ซึ่งได้ถวายพระเพลิงพระศพของเจ้าแก้วเจ้าไทหรืออาจมาจากการที่วัดนี้เป็นที่ประทับของพระสังฆราชฝ่ายขวา ซึ่งในสมัยโบราณเรียกพระสงฆ์ว่า "เจ้าไท" ฉะนั้นเจ้าพระยาไทจึงหมายถึงตำแหน่งพระสังฆราช วัดใหญ่ชัยมงคลยังมีความผูกพันกับประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วย กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2135 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ การสร้างพระเจดีย์อาจสร้างเสริมพระเจดีย์เดิมที่มีอยู่หรืออาจสร้างใหม่ทั้งองค์ก็ได้ ไม่มีหลักฐานแน่นอน ขนานนามว่า "พระเจดีย์ชัยมงคล" แต่ราษฎรเรียกว่า "พระเจดีย์ใหญ่" ฉะนั้นนานวันเข้าวัดนี้จึงเรียกชื่อเป็น "วัดใหญ่ชัยมงคล" ทว่าเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 บ้านเมืองถูกกองทัพพม่าเผาทำลาย วัดใหญ่ชัยมงคลจึงถูกทิ้งร้างไปในที่สุด ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์จึงมีการบูรณปฏิสังขรณ์และมีภิกษุสงฆ์จำพรรษาดังเช่นในปัจจุบัน สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ เจดีย์ชัยมงคล อนุสรณ์แห่งชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเหนือมังกะยอชวา พระมหาอุปราชของหงสาวดี และวิหารพระพุทธไสยาสน์ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นที่ถวายสักการะบูชาและปฏิบัติพระกรรมฐาน ปัจจุบันมีการสร้างพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้นิยมไปนมัสการอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก 
วัดใหญ่ชัยมงคล เปิดเวลา 08.00-17.00 น. ทุกวัน ค่าเข้าชมสำหรับชาวต่างชาติ 20 บาท นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3524 2640 หรือทางเว็บไซต์ www.watyaichaimongkol.netเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (รองรับผู้ใช้รถเข็น) : Tourism For Allhttp://tourismproduct.tourismthailand.org/tourismforall แผนที่เดินทางไปวัดใหญ่ชัยมงคล : http://www.tourismthailand.org/fileadmin/upload_img/Multimedia/Ebrochure/475/วัดใหญ่ชัยมงคล.pdf

 

ที่อยู่ : 40/3 หมู่ 3 พระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา

เครดิต : https://1th.me/0eKv3


วัดสะตือ

วัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ตามหลักฐานเดิมวัดมีพื้นที่ประมาณ37 ไร่แต่แม่น้ำกัดเซาะจนเว้าแหว่งเหลือเพียง 15 ไร่เศษ ซึ่งบนพื้นที่ทั้งหมดนี้ประกอบไปด้วยอาคารเสนาสนะต่าง ๆ อาทิ พระอุโบสถโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างใน พ.ศ. 2498 และดำเนินการบูรณะซ่อมแซมโดยพลตรีมนูญกฤษ รูปขจร ผู้มีพื้นเพเดิมอยู่ในท้องที่หลังองค์พระพุทธไสยาสน์นี้เอง นอกจากนั้นมีศาลาดินหรือวิหารสมเด็จ ซึ่งแต่เดิมเป็นอาคารไม้โปร่งมุงสังกะสีใช้สลักเดือยแทนการตอกตะปูสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายมีรูปทรงเป็นเรือสำเภา ซึ่งสมเด็จพุฒาจารย์โตได้พักอาศัยเมื่อคราวมาคุมการก่อสร้างองค์พระพุทธไสยาสน์ ต่อมาได้สร้างวิหารคู่เชื่อมต่อกันเป็นศาลาน้ำหรือศาลาริมแม่น้ำป่าสัก และยังมีฌาปนสถาน ซึ่งใช้เป็นเตาน้ำมันแห่งแรกในอำเภอท่าเรือเมื่อ พ.ศ. 2545 เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม แต่จุดเด่นที่ทำให้ผู้คนเดินทางมาที่วัดแห่งนี้เนืองแน่นทุกวันคือ พระพุทธไสยาสน์หรือหลวงพ่อโต ซึ่งสมเด็จพระพุทธาจารย์ (โตพรหมรังสี) ได้ทรงสร้างไว้เป็นอนุสรณ์เมื่อ พ.ศ. 2413 ประดิษฐานอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดเป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน มีขนาดยาว 52 เมตร กว้าง 9 เมตรและสูง 16 เมตร นับเป็นพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งของเมืองไทย นอกจากนั้นภายในพระอุโบสถมีพระประธาน ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 64 นิ้ว สูง 126 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2497 และพระปรางค์นาคปรกสมัยทวาราวดีเนื้อหินทรายซึ่งกรมศิลปากรขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุไว้ รวมทั้งรอยพระพุทธบาทจำลองอายุนับร้อยปีซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จมานมัสการพระพุทธบาทที่วัดนี้ถึง 2 ครั้ง จนเป็นที่มาของชื่อตำบลท่าหลวง ส่วนที่เรียกว่าวัดสะตือเพราะมีต้นสะตือใหญ่งอกงามขึ้นภายในบริเวณวัด สามารถเดินทางไปวัดสะตือได้ตามแผนที่นี้ http://www.tourismthailand.org/fileadmin/upload_img/Multimedia/Ebrochure/472/วัดสะตือ.pdf

 

 

ที่อยู่ : 140 หมู่ 6 ท่าเรือ, พระนครศรีอยุธยา

เครดิต : https://1th.me/u4xk6



ที่อยู่ : 

เครดิต : 


วัดไชยวัฒนาราม

ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24 ( พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2173 ได้ชื่อว่าเป็นโบราณสถานที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่ง ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ วัดนี้เป็นที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์(เจ้าฟ้ากุ้ง) กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลายกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ซึ่งต้องพระราชอาญาโบยจนสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สิ่งที่น่าชมภายในวัดได้แก่ พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ เป็นปรางค์ประธานของวัดตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสและที่มุมฐานมีปรางค์ทิศประจำอยู่ทั้งสี่มุม การที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองซึ่งเป็นกษัตริย์สมัยอยุธยาตอนปลายทรงสร้างปรางค์ขนาดใหญ่เป็นประธานของวัด เท่ากับเป็นการรื้อฟื้นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัด เช่น การสร้างปรางค์ที่วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ เนื่องจากพระองค์ทรงได้เขมรมาอยู่ใต้อำนาจจึงมีการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมรเข้ามาใช้ในการก่อสร้างปรางค์อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีพระระเบียงรอบปรางค์ประธาน ภายในพระระเบียงมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ผนังระเบียงก่อด้วยอิฐถือปูน มีลูกกรงหลอกเป็นรูปลายกุดั่น พระอุโบสถ อยู่ด้านหน้าของวัดภายในมีซากพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างด้วยหินทราย ใบเสมาของพระอุโบสถทำด้วยหินสีค่อนข้างเขียว จำหลักเป็นลายประจำยามและลายก้านขด และเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ทางด้านหน้าพระอุโบสถมีเจดีย์ 2 องค์ ฐานกว้าง 12 เมตร สูง 12 เมตร ซึ่งถือเป็นศิลปะที่เริ่มมีแพร่หลายตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง วัดไชยวัฒนารามได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะตลอดมาจนปัจจุบันไม่มีสภาพรกร้างอยู่ในป่าอีกแล้ว และยังคงมองเห็นเค้าแห่งความสวยงามยิ่งใหญ่ตระการตา ซึ่งผู้ไปเยือนไม่ควรพลาดชมอย่างยิ่ง เปิดทุกวันเวลา 08.00-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 40 บาท ชาวต่างชาติ 220 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมวัดและโบราณสถานบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน ได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์และพระราชวังหลวง วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม วัดไชยวัฒนาราม หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30- 21.00 น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยามีบริการเครื่องโสตทัศนาจร สามารถฟังข้อมูลการบรรยายวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดไชยวัฒนาราม และวัดมหาธาตุ เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สามารถเช่าได้ที่จุดบริการใกล้ป้อมจำหน่ายบัตรของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยคิดค่าบริการเครื่องละ 150 บาท สำหรับชม 3 วัดดังกล่าว (ราคาไม่รวมค่าบัตรเข้าชมโบราณสถาน)
 

 

ที่อยู่ : หมู่ 9 พระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา

เครดิต : https://1th.me/m04CD


วัดพนัญเชิงวรวิหาร

วัดอันเป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนชาวไทยจีน แทรกโศกนาฏกรรมตำนานรักซ้อนอยู่ในชื่อ ตามพงศาวดารเหนือบันทึกไว้ว่าพระเจ้าสายน้ำผึ้ง กษัตริย์ผู้ครองอโยธยาก่อนราชวงศ์อู่ทองทรงสร้างขึ้น ณ บริเวณที่พระราชทานเพลิงพระศพพระนางสร้อยดอกหมาก พระราชธิดาบุญธรรมในพระเจ้ากรุงจีน ซึ่งยกให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าสายน้ำผึ้ง แต่เมื่อกลับจากรับตัวพระนางมาจากเมืองจีน พระเจ้าสายน้ำผึ้งรับสั่งให้พระนางรออยู่ที่เรือพระที่นั่งก่อน จะทรงจัดขบวนมารับเข้าวัง แต่พระองค์มิได้เสด็จมารับว่าที่พระอัครมเหสีด้วยองค์เอง พระนางสร้อยหมากจึงไม่ยอมขึ้นจากเรือ เป็นเช่นนี้อยู่ 2 ครั้ง พระเจ้าสายน้ำผึ้งรับสั่งสัพยอกทั้ง 2 ครั้งว่า "เมื่อไม่ขึ้นก็จงอยู่ที่นี่เถิด" ด้วยความน้อยพระทัย พระนางสร้อยหมากทรงกลั้นพระทัยถึงแก่สวรรคตทันที เป็นที่มาของชื่อวัดว่า วัดพระนางเชิง ยังคงพบเห็นตำหนักเจ้าแม่สร้อยดอกหมากริมแม่น้ำป่าสัก สถานที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก หรือชาวจีนเรียกว่า จู๊แซเนี้ย ผู้คนจำนวนมากเดินทางมาที่พระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร สังกัดมหานิกายนี้ หวังใจว่าจะนมัสการหลวงพ่อโต พระคู่บ้านคู่เมืองอยุธยามาช้านาน ซึ่งตามพงศาวดารกล่าวว่าสร้างขึ้นก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี หรือตรงกับ พ.ศ. 1867 เดิมนามว่า พระเจ้าพแนงเชิง หรือเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวจีนว่า เจ้าพ่อซำปอกงหรือผู้คุ้มครองการเดินทางในทะเล ซึ่งได้รับพระราชทานนามใหม่จากรัชกาลที่ 4 ว่า พระพุทธไตรรัตนนายก เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ศิลปะอู่ทองตอนปลาย ปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 14.20 เมตร สูง 19.20 เมตร นับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประดิษฐานในพระวิหารใหญ่ซึ่งสร้างคลุมในภายหลัง เสาเขียนสีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่งสีแดง หัวเสาประดับปูนปั้นรูปบัวกลุ่มกลีบซ้อนกันหลายชั้น บานประตูไม้แกะสลักลอยตัวเป็นลายก้านขดยกดอกนูนออกมา ผนัง 4 ด้านเจาะช่องบรรจุพระพุทธรูป 84,000 องค์เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์ เรียกว่าพระงั่ง งดงามชวนตะลึงยิ่งนัก ตามคำให้การชาวกรุงเก่ายังบันทึกไว้ด้วยว่า เมื่อคราวจะเสียกรุงใน พ.ศ. 2310 หลวงพ่อโตมีน้ำตาไหลออกมาเป็นสาย เป็นที่อัศจรรย์นัก ส่วนพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปทอง ปูนและนาค ซึ่งเดิมทีเป็นเพียงพระพุทธรูปปูนปั้นทั้ง 3 องค์ แต่เพิ่งค้นพบภายหลังว่าเป็นทองและนาคเมื่อปูนกระเทาะออก จึงสันนิษฐานว่าก่อนจะเสียกรุง ชาวบ้านนำปูนมาพอกองค์พระไว้เพื่อป้องกันไม่ให้พม่าเผาลอกเอาทองพระไป ส่วนวิหารเซียน อาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหน้าพระวิหารหลวง เดิมมีภาพจิตรกรรมฝาผนังงดงามทั้ง 4 ด้าน แต่ถูกโบกปูนทับเมื่อคราวปฏิสังขรณ์ และมีศาลาการเปรียญ เป็นศาลาไม้ทรงไทย หน้าบันประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ มีภาพพุทธประวัติบนผ้าติดไว้ที่ขื่อพร้อมลง พ.ศ. 2472 กำกับไว้ ภายในมีธรรมาสน์สลักลวดลายแบบรัตนโกสินทร์สวยงามมาก เข้านมัสการได้ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. คนไทยเข้าชมฟรี สำหรับชาวต่างชาติเสียค่าเข้าชมคนละ 20 บาท วัดนี้ยังจัดงานประจำปียิ่งใหญ่ถึง 4 ครั้ง ได้แก่ งานมหาสงกรานต์ งานสรงน้ำและห่มผ้าถวายวันแรม 8 ค่ำ เดือนเมษายน งานทิ้งกระจาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทย มีงิ้วและมหรสพมาแสดงจนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่างานงิ้วเดือน 9 และสุดท้ายคืองานตรุษจีน เปิดวิหารหลวงให้นมัสการหลวงพ่อโตถึง 5 วัน แผนที่การเดินทางไปวัดพนัญเชิงวรวิหาร http://www.tourismthailand.org/fileadmin/upload_img/Multimedia/Ebrochure/456/วัดพนัญเชิงและศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก.pdf

 

 

ที่อยู่ : 2 หมู่ 12 ถนนบางปะอิน-เกาะเรียน พระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา

เครดิต : https://1th.me/XIxQv

 

แสดงความคิดเห็น

Whatsapp Button works on Mobile Device only