25/11/63

5 วัดขึ้นชื่อ จ.นนทบุรี

วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร

วัดเขมาภิรตารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดราชวรวิหารสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเดิมเรียกว่า "วัดเขมา" จนเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงมีคำสั่งให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอารามและพระราชทานสร้อยนามต่อท้ายว่า "วัดเขมาภิรตาราม" ซึ่งเป็นวัดที่จอมพลป. พิบูลสงครามเคยเรียนหนังสือในสมัยเด็กเมื่อครั้งราชวงศ์จักรีมีอายุ 200 ปีและมีพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2525 คณะกรรมการวัดได้มีความเห็นว่าวัดนี้มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีและพระบรมวงศานุวงศ์ทรงให้ความอุปถัมภ์บำรุงมาตลอดจึงมีมติสร้างศาลาอเนกประสงค์ "ศาลา 200 ปีกรุงรัตนโกสินทร์" หากมาที่วัดแห่งนี้ต้องไปชมมหาเจดีย์ที่ใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งมีความสูง 30 เมตรอยู่ด้านหลังโบสถ์พร้อมกราบขอพรจากพระประธานเป็นพระพุทธรูปหล่อเก่าแก่สมัยอยุธยาซึ่งอัญเชิญมาจากพระราชวังจันทร์เกษมยังมีพระตำหนักแดงและพระที่นั่งมณเฑียรให้เข้าไปชมกันอีกด้วยวัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารถือเป็นวัดที่ควรค่าแก่การเคารพสักการะและเป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์อีกทั้งอยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาจึงมีมีบรรยากาศผ่อนคลายน่ามาเยี่ยมชมเป็นอย่างยิ่ง 

เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2525 0470

 

ที่อยู่ : 74 หมู่ 8 ถนนพิบูลสงคราม เมืองนนทบุรี, นนทบุรี

เครดิต : https://1th.me/hFgIv

 

วัดชมภูเวก

"วัดชมภูเวก" ว่ากันว่าสร้างขึ้นโดยชาวมอญที่ลี้ภัยจากพม่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายประมาณ พ.ศ. 2300 ต่อมากว่าร้อยปีพระสงฆ์จากเมืองมอญได้สร้างพระมุเตา (เจดีย์แบบมอญ) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่นำมาจากบ้านเกิดของตนและเป็นที่สักการบูชาสันนิษฐานว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วยเมื่อ พ.ศ. 2460 ต่อมามีการสร้างวัดชื่อวัดชมภูเวกหมายถึงขอสรรเสริญเนินสูงที่มีความวิเวก (เงียบสงบ) พระอุโบสถหลังเดิมทรงมหาอุดอยู่หลังเจดีย์ที่มีรูปแบบเดียวกับเจดีย์ที่เมืองหงสาวดีปลายผนังสอบเข้าเพื่อรับน้ำหนักแทนเสาด้านหน้ามีพาไลหน้าบันประดับปูนปั้นลายดอกพุดตานกลางดอกเป็นเครื่องถ้วยลายครามและเบญจรงค์ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นปูนปั้นลายพฤกษาบนผนังทั้งสี่ด้านมีภาพจิตรกรรมสีฝุ่นผสมกาวตามแบบอยุธยาตอนกลางฝีมือช่างสกุลนนทบุรีในยุคนั้นแสดงเรื่องราวทศชาติชาดกและพุทธประวัติโดยมีรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผมในท่วงท่าที่อ่อนช้อยงดงามอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดแหลมด้รับการยกย่องว่าเป็นภาพแม่พระธรณีที่งดงามที่สุดภาพหนึ่งของเมืองไทยในอุโบสถหลังใหม่เป็นที่ประดิษฐานพระประธานศิลปะสุโขทัยและพระพุทธรูปยืนอีก 2 องค์วัดแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00-16.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้่ที่ 0 2967 1348

 

ที่อยู่ : 79 หมู่ 4 ถนนสนามบินน้ำ-นนทบุรี เมืองนนทบุรี, นนทบุรี

เครดิต :  https://1th.me/GJwvN
 
 

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์หรือวัดเล่งเน่ยยี่ 2 จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีใน พ.ศ. 2539 เดิมเป็นโรงเจขนาดเล็กบนพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ต่อมาคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทยหรือพระพุทธศาสนานิกายมหายานโดยวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) เปิดให้พุทธบริษัทไทย-จีนได้ร่วมบุญจัดสร้างวัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในโอกาสดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชานุญาตในการจัดสร้างวัดแห่งนี้และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์" 
วัดแห่งนี้ใช้เวลาในการสร้างกว่า 12 ปีจึงเสร็จสมบูรณ์ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยวิหารต่าง ๆ ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมตามแนวปรัชญาและคติธรรมทางพระพุทธศาสนาจีนนิกายฝ่ายมหายานประกอบด้วยวิหารพระกวนอิมโพธิสัตว์วิหารหมื่นพุทธเจ้าวิหารบูรพาจารย์ห้องปฏิบัติธรรมที่พำนักสงฆ์และโรงเรียนพระปริยัติธรรมนอกจากนี้ในทุกเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อตามวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนเช่นวันตรุษจีนเทศกาลถือศีลกินเจวัดแห่งนี้จะมีผู้คนมาร่วมทำบุญตามประเพณีความเชื่อจำนวนมาก 
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00-16.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ +66 2571 1155, +66 2920 2131
 
 

ที่อยู่ : 79 หมู่ 4 บางบัวทอง, นนทบุรี

เครดิต : https://1th.me/F7KHz
 
 

วัดคงคา


ชาวบ้านเรียก ว่า วัดโคก เนื่องจากบริเวณ วัดบางตอนเป็นที่เนินสูงแต่ที่ได้นามว่า วัดคงคา เนื่องจากอยู่ริมคลองลัดและคลองบางใหญ่มีพระประธานในอุโบสถ คือหลวงพ่อศิลาแดง

อีกหนึ่งวัดที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนนทบุรีสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2370 เดิมเรียก "วัดโคก" เนื่องจากบริเวณวัดเป็นเนินสูงภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดคงคา" เพราะอยู่ริมคลองลัดและคลองบางใหญ่ภายในพระอุโบสถเก่าแก่เป็นที่ประดิษฐานของพระประธาน "หลวงพ่อศิลาแดง (แลง)" พระพุทธรูปศิลาแลงปิดทองคำเปลวแบบสุโขทัยสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา วัดแห่งนี้ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้กราบสักการะและเคารพบูชา เช่น หลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ พระสังกัจจายน์ พระสีวลี เจ้าแม่กวนอิม เสด็จพ่อ ร.5 เจ้าแม่ตะเคียน ท้าวเวสสุวรรณ เป็นต้น รอบ ๆ วัดยังมีบริการให้นักท่องเที่ยวได้ปล่อยปลาปล่อยสัตว์ให้อาหารปลาเรียกว่ามาที่นี่แล้วสามารถทำบุญได้หลายรูปแบบเลยทีเดียว 

 เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00-16.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2276 2720-1

 

ที่อยู่ : 38 หมู่ 3 ถนนกาญจนาภิเษก บางใหญ่, นนทบุรี

เครดิต : https://1th.me/I8v8n
 
 

วัดสวนแก้ว

วัดสวนแก้ว ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ตำบลบางเลน เป็นสถานที่เผยแพร่ธรรมโดยพระพิศาลธรรมพาที (พระพยอม กัลยาโณ) เป็นพระนักพัฒนา ท่านได้ริเริ่มโครงการต่าง ๆ ของมูลนิธิสวนแก้วเพื่อพัฒนาสังคม อาทิ โครงการซุปเปอร์มาเก็ตผู้ยากไร้ โครงการร่มโพธิ์แก้ว

ด้วยเพราะมีพระนักพัฒนาและนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงอย่างพระพยอมกัลยาโณจึงทำให้ "วัดสวนแก้ว" เป็นที่รู้จักของประชาชนมากมายก่อนหน้านี้ใช้ชื่อว่า "วัดแก้ว" และเคยเป็นวัดร้างมาถึง 80 ปีมีหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภและพระภิกษุอีก 3-4 รูปพำนักอยู่ต่อมาพระพยอมกับเพื่อนพระภิกษุอีก 2 รูปได้เดินทางมาจากวัดสวนโมกขพลารามเพื่อขอบวชเณรภาคฤดูร้อนจากนั้นใน พ.ศ. 2522 หลวงพ่อเทียนจิตตสุโภต้องกลับไปพำนักที่จังหวัดเลยจึงมอบหมายให้พระพยอมเป็นผู้ดูแลวัดและได้ใช้ชื่อ "วัดสวนแก้ว" ตั้งแต่นั้นมาพร้อมกับจัดตั้ง "มูลนิธิสวนแก้ว" ขึ้นด้วยหากเข้ามาภายในบริเวณวัดจะสัมผัสได้ถึงความสงบร่มเย็นพื้นที่กว้างขวางโอบล้อมด้วยต้นไม้เขียวครึ้มมีพระอุโบสถธรรมชาติเป็นลานกว้างภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ใช้สำหรับพุทธศาสนิกชนมาฟังเทศน์ฟังธรรมและนั่งสมาธิอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจก็คือ เป็นที่รวมรวมของใช้ซึ่งมีผู้นำมาบริจาคให้ในจำนวนมหาศาลทางวัดจึงให้คนที่ว่างงานหรือไร้ที่อยู่ซึ่งมาขอพำนักอาศัยในวัดทำหน้าที่คัดแยกของบริจาคให้เป็นหมวดหมู่เพื่อจำหน่ายแก่ผู้มาปฏิบัติธรรมและคนที่เข้ามาเยี่ยมชมในราคาย่อมเยาเป็นการช่วยให้คนด้อยโอกาสได้สร้างงานสร้างเงินตามเจตนารมณ์ของมูลนิธิฯ 

เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 10.00-16.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์เปิดเวลา 09.00-16.30 น. วันพุธปิด โทร. 0 2595 1945-7, 0 2595 1444 โทรสาร 0 2595 1222 หรือ www.suankaew.or.th

 

ที่อยู่ : หมู่ 1 บางใหญ่, นนทบุรี

เครดิต : https://1th.me/sml1o

 

 

 

 

 

 

 

 

แสดงความคิดเห็น

Whatsapp Button works on Mobile Device only