23/10/64

เที่ยวมหาสารคาม

สะพานไม้แกดำ

สะพานไม้แกดำ สะพานไม้เก่าแก่ มีความยาว 1 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างบ้านแกดำกับบ้านหัวขัวทอดข้ามหนองน้ำแกดำท่ามกลางกอบัวและพืชน้ำสีเขียวตลอดเส้นทาง ปัจจุบันชุมชนได้ช่วยกันซ่อมแซมสะพานเพื่ออนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ และเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมจากนักถ่ายภาพเป็นอย่างมาก 
การเดินทาง จากตัวเมืองมหาสารคาม ใช้ทางหลวงหมายเลข 2040 ประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2380 ไปอีกประมาณ 13 กิโลเมตร จะเจอป้ายวัดดาวดึงษ์แกดำสะพานไม้แกดำอยู่ด้านหลังของวัด
 
 
ที่อยู่ :  แกดำ, มหาสารคาม
เครดิต :  https://zhort.link/kfm
 
 
 
 
 
 

อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย

อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย  หางจากเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม 6 กิโลเมตร ตามเส้นทางมหาสารคาม มุกดาหารบริเวณอุทยานตั้งอยู่ในกุดหวาย คาว่ากุด หมายถึงทางน้ำทีแม่น้ำเปลี่ยนทางเดินเป็นเวลานาน บริเวณกุดหวายทีว่านี้ เดิมต้นหวายเกิดล้อมรอบ สวนตรงเนินกลางกุดมีหญ้าคา หญ้าแฝกงอกงามมากตรงบริเวณหัวคุ้งน้ำ พระครูพิทักษ์โกสุมพิสัย (ญาครูโม่ง) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีได้ไปตั้งสำนักสงฆ์เพื่อเป็นสวนหญ้า สำหรับเกี่ยวมามุงศาสนสถานในสมัยโบราณ ปัจจุบันบริเวณนี้ชาวบ้านได้ตั้งเป็นวัดชื่อ พิทักษ์สามัคคีโพธิ์ศรี 2 เมื่อพุทธศักราช 2537 ศูนย์บริการเกษตรกรรมเคลื่อนที่และกรมชลประทาน ได้ขุดลอกเป็นคุ้งน้ำตามแนวเดิมทีกว้างที่สุดประมาณ 120 เมตร ลึกจากผิวดิน 10 เมตร โค้งเป็นรูปเกือกมายาวประมาณ 800 เมตร มีความจุน้ำประมาณ 96,000 ลูกบาศก์เมตร ด้านทิศตะวันตกมีทางน้ำธรรมชาติ ไหลล้นลงลำน้ำรอบกุดด้านทิศเหนือมีหมู่บ้านโขงกุดหวายตั้งอยู่ ประชากรเป็นคนไทยลาวและไทยโคราช พุทธศักราช 2537 ประมาณเดือนตุลาคมเกิดน้ำหลากท่วมสองฝังลำน้ำชีทะลักเข้าโขงกุดหวาย และไหลลงแม่น้ำมูล แม่น้ำโขงตามลำดับ ฝูงปลาเผาะ เป็นตระกูลปลาสวายชาวอีสานบางส่วนเรียกว่าปลาซวย ปลาวังก็มี สำหรับปลาเผาะนี้อาศัยอยู่ตามแม่น้ำโขง และปากแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง เช่น ปากแม่น้ำมูล ได้รวมกันเป็นฝูงว่ายทวนกระแสน้ำขึ้นมา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน อาจเป็นเพราะว่าแก่งตะนะ ซึ่งเป็นแก่งและซอกหินที่เคยอาศัย ถูกระเบิดเพื่อสร้างเขื่อนปากมูล ปลาเหล่านี้ไม่มีที่อาศัยจึงแตกตื่นทวนกระแสน้ำขึ้นมารวมกับปลาเลี้ยงทีน้ำท่วมบ่อ เช่น ปลาตะเพียน ยี่สก นิล ไน ได้มารวมกันอยู่ ในโขงกุดหวายจำนวนมาก โดยเฉพาะปลาเผาไม่มากกว่าชนิดอื่น และเป็นปลาขนาดใหญ่ปัจจุบันลำตัวยาวประมาณ 2 ศอก ชอบว่ายเหนือน้ำตามกินอาหารจากคนไปเทียวชม เมื่อรวมปลาชนิดต่าง ๆ แล้วมีประมาณหลายแสนตัว ชาวบ้านถือเป็นโอกาสดี จึงร่วมกันปิดกั้นทางน้ำมิให้ไหลลงลำน้ำชี ต่อมาทางราชการได้เสริมคันดินให้แข็งแรงโดยมีความยาว 30 เมตร สันคันดินกว้าง 8 เมตร และร่วมกันตั้งชื่อว่า อุทยานมัจฉา การดำเนินงานในอุทยานใช้วัฒนธรรมนำการพัฒนา ทุกคนในหมู่บ้านร่วมมือกันโดยมีวัดในพุทธศาสนาเป็น ศูนย์กลาง ภายในวัดก็จะมีสัตว์ที่ชาวบ้านนำมาวัดช่วยเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็น จระเข้ สุนัขจิ้งจอก ลิง เยี่ยว กระต่าย นก และหนูตะเพา ฯลฯ และยังมี พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน อีกด้วย และได้จัดทำโครงการอนุรักษ์ปลาหน้าวัด เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองสิริราชสมบัติครบ 50ปี ห้ามจับสัตว์น้ำ หรือทำการประมงในที่รักษาพืชพันธ์ ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ ภายในอุทยานแห่งนี้ มีร้านจำหน่ายอาหารปลา มีสะพานไม้ ขนาดกว้าง 1 เมตร 60 เซนติเมตร ยาว 83 เมตร ข้ามคุ้งน้ำไปบริเวณวัด และใช้เป็นสถานที่ให้อาหารปลาและชมปลาได้ด้วย มีซุ้มริมฝั่งน้ำ 4 ซุ้ม แพลอยน้ำขนาด 3 x 5.50 เมตร จำนวน 10 แพ ให้นักท่องเที่ยวรับประทานอาหารและชมปลา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทีมีประชาชนไปเที่ยวจำนวนมาก ทุกวัน
 
 
 
ที่อยู่ :  บ้านโขงกุดหวาย หมู่ที่ 7 ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
เครดิต :  https://zhort.link/kfr
 
 
 

พระธาตุนาดูน

พุทธมณฑลแห่งอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่าง ๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบ ๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา 
การเดินทางจากตัวเมืองมหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร
 
 
 
ที่อยู่ : นาดูน, มหาสารคาม
เครดิต :  https://1th.me/8q67b
 
 

พิพิธภัณฑ์นครจำปาศรี

ตั้งอยู่ที่ตำบลพระธาตุ ทางทิศใต้ของพระธาตุนาดูน เก็บรวมรวมรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ และเป็นแหล่งข้อมูลอาณาจักรจำปาศรี นครโบราณสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13-16 พิพิธภัณฑ์ฯ ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2543 ลักษณะเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ 2 หลังเชื่อมต่อกัน แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 4 ส่วน คือ 
ส่วนที่ 1 พุทธศาสนา: ศาสตร์แห่งบูรพทิศ 
ส่วนที่ 2 การค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ 1 องค์ ขนาดเท่าเม็ดข้าวสารหัก สีขาวขุ่นคล้ายแก้วมุกดาบรรจุในสถูปสัมฤทธิ์ 
ส่วนที่ 3 การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่นาดูน เช่น พระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดี 
ส่วนที่ 4 พุทธมณฑลอีสาน จำลองเนินโบราณสถานและผังตำแหน่งสถูปสัมฤทธิ์ และมีวีดีทัศน์สรุปเหตุการณ์สำคัญที่ยิ่งใหญ่นี้ 
เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-เสาร์ หยุดวันอาทิตย์ เวลา 08.00-16.00 น.
 
 
 
ที่อยู่ : นาดูน, มหาสารคาม
เครดิต :  https://1th.me/C36zk
 

 

 

หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง

หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง อยู่เลขที่ 171 หมู่ 7 ตำบลท่าสองคอน เป็นหมู่บ้านทอผ้าไหมลายสร้อยดอกหมาก ผ้าฝ้ายทอมือจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ กางเกงขาก๊วย ของชำร่วย กระเป๋า หมอน ย่ามลายขิต และยังมีงานหัตถกรรมจักสานอีกด้วย โทร. 0 4375 8230, 08 1974 7667, 08 1768 1649 
การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 208 สายมหาสารคาม-โกสุมพิสัย ระยะทาง 12 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายระหว่างกิโลเมตรที่ 47-48 เข้าทางหลวงหมายเลข 2029 สู่บ้านบ่อใหญ่โนนตาล เดินทางต่อไปอีก 2 กิโลเมตร จึงจะถึงหมู่บ้านหนองเขื่อนช้าง
 
 
 
ที่อยู่ : 171 หมู่ 7 บ้านหนองเขื่อนช้าง เมืองมหาสารคาม, มหาสารคาม
เครดิต : https://1th.me/Dtrk8
 

 

กู่สันตรัตน์

ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน เป็นปราสาทหินที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะขอมสมัยบายน อายุระหว่าง พ.ศ. 1700-1750 ตัวปราสาทสร้างด้วยศิลาแลงเป็นแท่งสี่เหลี่ยมเหมือนกู่มหาธาตุ และมีทับหลังประตูมุขหน้าจำหลักลายงดงามน่าดู 
การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 2045 (เข้าอำเภอนาดูน) ประมาณ 1 กิโลเมตร จะอยู่ทางขวามือ
 
 
ที่อยู่ : นาดูน, มหาสารคาม
เครดิต : https://1th.me/rZbzv
 

 


 

 


 

 

 

 

 

 

แสดงความคิดเห็น

Whatsapp Button works on Mobile Device only