7/1/64

5 วัดสำคัญเมื่อไปบุรีรัมย์

 พระบรมธาตุเจดีย์ศรีสุวจนคุณานุสรณ์ (วัดป่าเขาน้อย)

พระบรมธาตุเจดีย์ศรีสุวจนคุณานุสรณ์ (วัดป่าเขาน้อย) เป็นวัดป่ากรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตที่ได้พัฒนาขึ้นตามปณิธานของพระโพธิธรรมจารย์เถร หรือหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ อดีตเจ้าอาวาสและวิปัสสนาจารย์เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนทั่วไป บริเวณโดยรอบวัดมีสภาพเป็นป่าเขาจึงเหมาะแก่การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน นอกจากนั้นยังมี พระบรมธาตุเจดีย์ศรีสุวจคุณานุสรณ์ ซึ่งมีรูปทรงคล้ายกับปราสาทหินในสมัยขอม มีความสูงกว่า 31 เมตร ภายในเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ปฏิบัติภาวนาและมีส่วนที่แสดงภาพประวัติของหลวงปู่สุวัจน์ ชั้นสองเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนและเก็บอัฐบริขารของหลวงปู่สุวัจน์ ไว้ให้ประชาชนได้สักการะ โดยหลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน ได้มาเป็นประธานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ เจดีย์ศรีสุวจคุณานุสรณ์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2550

 

ที่อยู่ : เมืองบุรีรัมย์, บุรีรัมย์

เครดิต : http://1ab.in/Ghj

 

วัดกระดึงทอง

ทุกวันที่ 1 พ.ค. พุทธศาสนิกชาวบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียงจะมาร่วมทำบุญครบรอบอายุของหลวงปู่เหลือง เกจิดังแห่งแดนอีสานใต้กันอย่างแน่นวัดกระดึงทอง ซึ่งในปี 2562 ท่านจะมีอายุได้ 92 ปี หลวงปู่เหลืองเป็นศิษย์อาวุโสรูปหนึ่งของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร, พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) วัดรังสีปาลิวัน จ.กาฬสินธุ์ รวมถึง ท่านพ่อลี ธมฺมธโร แห่งวัดป่าคลองกุ้ง ด้วยจริยาวัตรแบบพระผู้ติดดิน อยู่อย่างสมถะเรียบง่าย แม้ท่านจะมีตำแหน่งสูงทางโลกแต่ไม่เคยถือยศถือตำแหน่งใดๆ ท่านจึงได้รับความศรัทธานับถือจากพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ แวะเวียนมากราบขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล

 

ที่อยู่ : บ้านด่าน, บุรีรัมย์

เครดิต : http://1ab.in/Ght

 

วัดเขาอังคาร

วัดเขาอังคาร ตั้งอยู่บนยอดเขาอังคาร เป็นวัดที่สวยงาม ตั้งอยู่ที่บ้านเจริญสุขบนเขาอังคารซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ภายในบริเวณวัดมีการค้นพบโบราณสถานเก่าแก่และใบเสมาหินทรายสลักภาพบุคคล สถูป ดอกบัว และธรรมจักรสมัยทวาราวดีหลายชิ้น อยู่ในพุทธศวรรษที่ 13-14 มีโบสถ์ ศาลา และเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่าง ๆ ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาพนังเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษด้วย 

การเดินทาง อยู่ห่างจากปราสาทหินพนมรุ้งไปอีก 20 กิโลเมตร จากบุรีรัมย์ใช้เส้นทางสายบุรีรัมย์-นางรอง-บ้านตะโก-บ้านตาเป็ก (ทางเดียวกับไปปราสาทหินพนมรุ้ง) เมื่อเดินทางถึงบ้านตาเป็ก เลี้ยวขวาตามทางไปอำเภอละหานทราย 13 กิโลเมตร จะพบทางแยกขวาไปวัดเขาอังคารอีก 7 กิโลเมตร

 

ที่อยู่ : บ้านเจริญสุข เฉลิมพระเกียรติ, บุรีรัมย์

เครดิต : http://1ab.in/Ghr

 

วัดกลางพระอารามหลวง

วัดกลางพระอารามหลวง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีและยังเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองบุรีรัมย์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2300 มีพระอุโบสถขนาดใหญ่ที่มีสถาปัตยกรรมงดงาม ภายในบริเวณวัดยังมี "สระสิงโต" เป็นสระน้ำโบราณซึ่งได้นำน้ำทูลเกล้าฯ ถวายในพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา เมื่อครั้งมีพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ครบ 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 นอกจากนี้ยังมีศาลาหอพระไตรปิฏก ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ตั้ง :


ที่อยู่ : ถนนหลักเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดบุรีรัมย์

เครดิต : http://1ab.in/GhB

 

 

พระเจ้าใหญ่ วัดหงษ์

พระเจ้าใหญ่ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย วัสดุสัมฤทธิ์ ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.6 เมตร สูง 2 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 ช่างที่สร้างอาจเป็นช่างสกุลลาว ศิลปะล้านช้าง โดยดูจากพระเกศที่มีลักษณะเฉพาะในภาคอีสานและในประเทศลาวเท่านั้น ประดิษฐานอยู่ที่วัดหงษ์ ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ มีประวัติเล่าว่าท้าวศรีปาก(นา) ท้าวทาทอง(ยศ) และท้าวเหล็กสะท้อนไกรสรเสนา คนไทยเชื้อสายลาวและบริวารมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดมหา สารคาม มีนิสัยชอบเที่ยวป่าล่าสัตว์ ครั้งหนึ่งได้ยิงนกขนาดใหญ่และสวยงามมากตัวหนึ่งบริเวณสระบัว นกตัวนั้นบินมาตกตรงป่าด้าน ทิศตะวันออกจึงตามหา ได้พบพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ด้วยความไม่เคยเห็นพระองค์ใหญ่ขนาดนี้มาก่อน ก็เกิดความปิติดีใจ แล้วสำรวจรอบบริเวณองค์พระ พบเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม รอบองค์พระมีต้นตาล ทั้ง4 ทิศมีเถาวัลย์ ปกคลุมรุงรัง ด้านทิศตะวันออกพบ หนองน้ำขนาดใหญ่ ไม่ปรากฏว่ามีคนอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น จึงกลับไปชักชวนญาติพี่น้องให้มาตั้งรกรากบริวเณนี้ ช่วยกันสร้างวัดและ ตั้งชื่อว่า "วัดหงษ์" ตามลักษณะของนกที่ถูกยิงตกบริเวณนั้น องค์พระมีอักษรขอมจารึกบนดินเผา อ่านได้เฉพาะคำหน้าว่า "พระเจ้าใหญ่..." จึงเรียกว่า "พระเจ้าใหญ่" ตั้งแต่นั้นมา สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างกับเมืองพุทไธสง ราวปี พุทธศักราช 2200 อายุประมาณ 300 ปีเศษ เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสาม (กุมภาพันธ์-มีนาคม) ชาวบ้านจะจัดงานเทศกาลเพื่อเฉลิมฉลองนี้ 5 วัน 5 คืน เป็นประจำทุกปีแด่พระเจ้าใหญ่

 

ที่อยู่ : พุทไธสง, บุรีรัมย์

เครดิต : http://1ab.in/GhG

 

 

 

 


แสดงความคิดเห็น

Whatsapp Button works on Mobile Device only